
Home Physical Therapy
"...กายภาพบำบัดที่บ้าน..."
เพราะการเคลื่อนไหวนั้นสำคัญสำหรับ "เรา" จึงเป็นที่มาของชื่อ "Khayap - ขยับ" เพื่อเสนอประเด็นเกี่ยวกับ การทำกายภาพบำบัดที่บ้านให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วไป
การกายภาพบำบัดที่บ้านโดยนักกายภาพบำบัด เป็นการตรวจประเมินและรักษาโรคทางกายภาพบำบัดจากนักกายภาพบำบัด เพื่อร่วมกันดูแลสุขภาพของบุคคลที่คุณรักที่บ้านของคุณเอง
-
Risk falling elderly.
-
Musculoskeletal problem from daily routine and sport
-
Rehabilitation continuous after operation.
-
Post stroke patients
-
Maintain a good quality of life for Parkinson's disease patients
-
ผู้สูงอายุมีปัญหาการทรงตัวเสี่ยงต่อการล้ม
-
ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อ จากการทำงานหรือจากการเล่นกีฬา
-
ผู้ป่วยระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ หลังการผ่าตัดที่ต้องการทำกายภาพบำบัดต่อเนื่อง
-
ผู้ป่วยโรคหลอดเลือสมอง (อัมพาตครึ่งซีก)
-
ผู้ป่วยพาร์กินสัน
Release, Relax, Rehab

PT —
PHYSICAL THERAPIST
คำถาม: การฟื้นฟูผู้ป่วยที่บ้านมีผลอย่างไร?
ตอบ: บทความในวารสาร THE LANCET • Vol 363 • January 31, 2004 ได้สรุปผลการบททวนเอกสารตีพิมพ์อย่างเป็นระบบ เกี่ยวกับการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านทั้งจากนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด รวมถึงสหวิชาชีพที่เคยรายงานไว้ 14 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1617 คน สรุปโดยย่อได้ว่าการฟื้นฟูบำบัดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านนั้น ลดค่าอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยงของกิจวัตรประจำวันที่ถอยลง และเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย...
หมายเหตุ: การศึกษานี้ ศึกษาเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเท่านั้น ไม่อาจใช้สรุปครอบคลุมถึงโรคอื่นได้
อ่านบทคัดย่อฉบับเต็มได้จาก
Rehabilitation therapy services for stroke patients living at home: Systematic review of randomised trials.
THE LANCET • Vol 363 • January 31, 2004
อัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดต่อครั้ง
800 - 1200 บาท*
*ประมาณการช่วงอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดนี้ ยังไม่รวมค่าเดินทางและหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ (แล้วแต่กรณี) ทั้งนี้ขึ้นกับนักกายภาพบำบัดแต่ละท่านซึ่งอาจประเมินน้อยกว่าหรือมากกว่าได้ โปรดสอบถามข้อมูลจากนักกายภาพบำบัดที่ท่านติดต่อให้ชัดเจน ก่อนตัดสินใจขอรับบริการทางกายภาพบำบัด
ทั้งนี้ โปรดทราบว่า "ขยับ" ไม่มีนโยบายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ จากนักกายภาพบำบัด
ที่จะเป็นเหตุให้ใช้อ้าง สำหรับการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในส่วนของ "ขยับ" จากท่านเพิ่มเติม
• NEUROLOGY •
กายภาพบำบัดระบบประสาท
• MUSCULOSKELETAL •
กายภาพบำบัดในระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง
กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด เกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ข้อต่อ จากการทำงาหรือเล่นกีฬา ด้วยวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสม เช่น
การขยับ ดัด ดึง ข้อต่อ
(Joint Mobilization and Manipulation)
การพันผ้ายืดและการพันเทป
(Bandaging and Taping)
คำแนะนำในการการป้องกันโรคหรือการบาดเจ็บ (Prevention of Disease or Trauma)*
การตรวจกำลังกล้ามเนื้อ การวิเคราะห์ท่าทางและการเดิน หาองค์ประกอบการเคลื่อนไหวที่ขาดหายไป เพื่อประเมินและให้การฟื้นฟูโดยวิธีการทางกายภาพบำบัด เช่น ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพาตครึ่งซีก)
เทคนิคการเคลื่อนย้ายและการฝึกเดิน (Transfer Techniques and Ambulation)*
• THERAPEUTIC EXERCISE •
การออกกำลังกายเพื่อการรักษา
เป็นการรักษาด้วยการออกกําลังกาย (Therapeutic Exercise) ทั้งแบบทำเอง (Active movement) ที่ระดับความยากง่ายต่างๆ และแบบทำให้ (Passive movement) ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถของผู้รับการรักษา
รวมถึง ธาราบําบัด (Hydrotherapy) ซึ่งเป็นการออกกำลังกายเพื่อการรักษาในน้ำ เป็นการอาศัยแรงลอยตัวและแรงต้านของน้ำช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวระหว่างการออกกำลังกาย สำหรับท่านที่มีสระว่ายน้ำส่วนตัวและมีอาการเอื้อต่อการทำธาราบำบัด*
• THERAPEUTIC MASSAGE •
การนวดเพื่อการรักษา
การทำงานของกล้ามเนื้อในบริเวณที่นวดเพื่อการรักษาจะลดลง กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวก็จะเกิดการผ่อนคลาย ซึ่งจะยับยั้งอาการล้า อาการปวด และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
เพื่อเตรียมความพร้อมกล้ามเนื้อให้สามารถ ค่อยๆเพิ่มความหนักในการออกแรง และมีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บจากการยก*
* ข้อความและภาพ ใช้อธิบายหลักการและแนะนำตัวอย่างวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดให้ทราบในเบื้องต้นโดยสังเขป มิใช่คำแนะนำเพื่อการรักษา
สนับสนุนการ ขยับ ไปพร้อมกัน โดย
GET IN TOUCH
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เพื่อโทรฟรีผ่านไลน์
บริการนี้ ไม่ใช่บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินหรือผู้รับบริการทางกายภาพบำบัดซึ่งต้องได้รับการดูแลโดยเร่งด่วน กรณีเร่งด่วน/ฉุกเฉิน โปรดพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด ณ โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน ฉุกเฉินโทร
1669
เกี่ยวกับเรา
ร่วม "ขยับ" กับเรา